1. ชื่อสถานศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอนาน้อย
2. ที่ตั้ง/การติดต่อ เลขที่ 236 หมู่ที่ 1 ถนนนาราบ – สันทะ ตำบลนาน้อย อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน
รหัสไปรษณีย์ 55150 โทร. 054789136 โทรสาร 054789136 E – mail :
Website : 202.143.131.220/nanoi
3. สังกัด สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดน่าน
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
4. ประวัติความเป็นมาของสถานศึกษา
4.1 ประวัติสถานศึกษา
ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอนาน้อย ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2536 ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 27 สิงหาคม 2536 โดยตั้งอยู่ที่บริเวณที่ว่าการอำเภอนาน้อย ถนนเจ้าฟ้า อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน ตัวอาคารเป็นไม้สักทอง หลังคามุงสังกะสีขนาดกว้าง 9 เมตร ยาว 18 เมตร ใต้ถุนสูงประมาณ 70 เซนติเมตร เดิมเป็นห้องสมุดประชาชนอำเภอนาน้อย สร้างโดยงบประมาณของคณะผู้บริจาคทั้งภาครัฐและเอกชน เช่นครู อาจารย์ ข้าราชการ ลูกจ้าง พ่อค้า ประชาชน และสหกรณ์ออมทรัพย์ครูน่าน จำกัด ใช้งบประมาณ 25,000 บาท (สองหมื่นห้าพันบาทถ้วน)
เมื่อ พ.ศ. 2537 นายสงบ เฉลิมลาภ ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษาศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอนาน้อย ได้ติดต่อประสานงานกับพระอาจารย์ปลัดธนวัฒน์ จนฺทโชโต เจ้าอาวาสวัดศิริพงษ์ธรรมนิมิต กรุงเทพมหานคร และญาติธรรมที่สำคัญ คือ นายเพลิน – นางพูน ตาลช่วง ตลอดถึงประชาชนอำเภอนาน้อย ร่วมบริจาคทรัพย์จำนวน 1,280,000 บาท (หนึ่งล้านสองแสนแปดหมื่นบาทถ้วน) สร้างอาคาร 2 ชั้น กว้าง 12 เมตร ยาว 20 เมตร ก่อสร้างวันพุธที่ 28 ตุลาคม 2541 ส่งมอบอาคารให้กรมการศึกษานอกโรงเรียน เมื่อวันศุกร์ที่ 30 เมษายน 2542โดยมีรองอธิบดีกรมการศึกษานอกโรงเรียน นายกฤช กาญจนาภา เป็นผู้รับมอบและใช้เป็นสถานศึกษาในการจัดให้เป็นศูนย์กลางการจัดกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียน และให้หน่วยงานเครือข่ายตลอดจนประชาชนทั่วไปมาใช้บริการ
ด้วยพระราชบัญญัติการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พุทธศักราช 2551 ได้มีผลบังคับใช้ ทำให้ชื่อสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย(สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน)เปลี่ยนไป อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 45 (2) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อสถานศึกษาที่เปลี่ยนใหม่ จึงได้ทำคำสั่งสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่ 488/2551 ให้ยกเลิกคำสั่งที่ 7/2546 , 1346/2548 , 1418/2549 , 1417/2549 , 1180/2549 ให้ยกเลิกชื่อ ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ เปลี่ยนมาใช้คำว่า ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอและให้นายบรรจบ ธรรมสมบูรณ์ ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอนาน้อย โดยใช้ชื่อย่อว่า ศูนย์ กศน.อำเภอนาน้อย มี ข้าราชการครู 2 คน ลูกจ้างประจำ 3 คน พนักงานราชการ 8 คน และลูกจ้างชั่วคราว 7 คน
4.2 อาณาเขต
อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน เป็นอำเภอหนึ่งในจำนวน 15 อำเภอ ของจังหวัดน่าน อยู่ทางทิศใต้ ของจังหวัดน่าน ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 65 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทางจากอำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่านประมาณ 1 ชั่วโมง ซึ่งอำเภอนาน้อยมีลักษณะภูมิประเทศ คือ
อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน มีเนื้อที่ประมาณ 1,408,122 ตารางกิโลเมตร
แบ่งเป็น พื้นที่ป่า 1,270,240 ตารางกิโลเมตร
พื้นที่เกษตร และที่อยู่อาศัย 137,882 ตารางกิโลเมตร
เฉลี่ยพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร ต่อประชากร 4 คน (เทียบกับพื้นที่เกษตรและที่อยู่อาศัย)
- การเดินทาง
ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน
ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่
- จากอำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน เดินทางเข้าสู่อำเภอนาน้อย ใช้เส้นทางสาย เมืองน่าน – เวียงสา – นาน้อย จุดเริ่มต้นที่สี่แยกพันต้นก่อนเข้าตัวเมืองน่าน ระยะทาง 65 กิโลเมตร สภาพถนนลาดยางตลอดสาย รถยนต์ทุกชนิดเดินทางได้
- จากอำเภอเวียงสา เดินทางเข้าสู่อำเภอนาน้อย ใช้เส้นทางสาย เวียงสา – นาน้อย ระยะทาง35 กิโลเมตร สภาพถนนลาดยางตลอดสาย รถทุกชนิดเดินทางได้ทาง
- จากอำเภอนาหมื่น เดินทางเข้าสู่อำเภอนาน้อย ใช้เส้นทาง นาหมื่น – นาน้อย ระยะทาง 25 กิโลเมตร สภาพถนนลาดยางตลอดสาย รถยนต์ทุกชนิดเดินทางได้
4.3 สภาพชุมชน
สภาพทางการปกครอง
การปกครอง
อำเภอนาน้อย แบ่งการปกครองเป็น 7 ตำบล 68 หมู่บ้าน
ประกอบด้วย 2 เทศบาล 6 องค์การบริหารส่วนตำบล ดังนี้
4.2.1 ตำบลนานาน้อย ประกอบด้วย 10 หมู่บ้าน ซึ่งแบ่งเขตการปกครองเป็น 2 เขต
4.2.1.1 เทศบาลตำบลนาน้อย ประกอบด้วย 4 หมู่บ้าน ได้แก่
1. บ้านนาราบ หมู่ที่ 1
2. บ้านดอนไชย หมู่ที่ 2
3. บ้านนาหลวง หมู่ที่ 3
4. บ้านนาน้อย หมู่ที่ 4
4.2.1.2 องค์การบริหารส่วนตำบลนาน้อย ประกอบด้วย 6 หมู่บ้าน ได้แก่
5. บ้าน บุ้ง หมู่ที่ 5
6. บ้านไร่ หมู่ที่ 6
7. บ้านนาหล่าย หมู่ที่ 7
8. บ้านหัวทุ่ง หมู่ที่ 8
9. บ้านนาอุดม หมู่ที่ 9
10. บ้านคลองชล หมู่ที่ 10
4.2.2 ตำบลศรีษะเกษ (เทศบาล) ประกอบด้วย 14 หมู่บ้าน ได้แก่
1. บ้านหัวเมือง หมู่ที่ 1
2. บ้านขัวก้อม หมู่ที่ 2
3. บ้านหนองห้า หมู่ที่ 3
4. บ้านศรีบุญเรือง หมู่ที่ 4
5. บ้านหนองเตา หมู่ที่ 5
6. บ้านทุ่งมงคล หมู่ที่ 6
7. บ้านใหม่ หมู่ที่ 7
8. บ้านน้ำหก หมู่ที่ 8
9. บ้านหนองบัว หมู่ที่ 9
10. บ้านหนอง หมู่ที่ 10
11. บ้านศรีษะเกษ หมู่ที่ 11
12. บ้านก่อมก้อ หมู่ที่ 12
13. บ้านหนองผำ หมู่ที่ 13
14. บ้านกิตตินันท์ หมู่ที่ 14
4.2.3 ตำบลสถาน (อบต.) ประกอบด้วย 12 หมู่บ้าน ได้แก่
1. บ้านศาลา หมู่ที่ 1
2. บ้านสถาน หมู่ที่ 2
3. บ้านใหม่ หมู่ที่ 3
4. บ้านนา หมู่ที่ 4
5. บ้านไร่น้ำหิน หมู่ที่ 5
6. บ้านน้ำลัด หมู่ที่ 6
7. บ้านหมาก หมู่ที่ 7
8. บ้านป่ากล้วย หมู่ที่ 8
9. บ้านหล่ายหนอง หมู่ที่ 9
10. บ้านนาดอย หมู่ที่ 10
11. บ้านใหม่จัดสรร หมู่ที่ 11
12. บ้านทุ่ง หมู่ที่ 12
4.2.4 ตำบลสันทะ (อบต.) ประกอบด้วย 10 หมู่บ้าน ได้แก่
1. บ้านเชตะวัน หมู่ที่ 1
2. บ้านห้วยจอย หมู่ที่ 2
3. บ้านขุนสถาน หมู่ที่ 3
4. บ้านวังคำ หมู่ที่ 4
5. บ้านนาแดง หมู่ที่ 5
6. บ้านสันทะ หมู่ที่ 6
7. บ้านห้วยส้ม หมู่ที่ 7
8. บ้านส้าน หมู่ที่ 8
9. บ้านแสนสุข หมู่ที่ 9
10. บ้านใหม่หัวดง หมู่ที่ 10
4.2.5 ตำบลบัวใหญ่ (อบต.) ประกอบด้วย 8 หมู่บ้าน ได้แก่
1. บ้านอ้อย หมู่ที่ 1
2. บ้านใหม่มงคล หมู่ที่ 2
3. บ้านนาแหน หมู่ที่ 3
4. บ้านทัพม่าน หมู่ที่ 4
5. บ้านนาไคร้ หมู่ที่ 5
6. บ้านต้นม่วง หมู่ที่ 6
7. บ้านสันพยอม หมู่ที่ 7
8. บ้านหนองห้า หมู่ที่ 8
4.2.6 ตำบลน้ำตก (อบต.) ประกอบด้วย 7 หมู่บ้าน ได้แก่
1. บ้านพืชเจริญ หมู่ที่ 1
2. บ้านน้ำพุ หมู่ที่ 2
3. บ้านน้ำสระ หมู่ที่ 3
4. บ้านวังกอก หมู่ที่ 4
5. บ้านเปา หมู่ที่ 5
6. บ้านไทยงาม หมู่ที่ 6
7. บ้านพืชมงคล หมู่ที่ 7
4.2.7 ตำบลเชียงของ (อบต.) ประกอบด้วย 7 หมู่บ้าน ได้แก่
1. บ้านหนองห้า หมู่ที่ 1
2. บ้านแต หมู่ที่ 2
3. บ้านป่าสัก หมู่ที่ 3
4. บ้านนาเกลือ หมู่ที่ 4
5. บ้านน้ำหิน หมู่ที่ 5
6. บ้านสัน หมู่ที่ 6
7. บ้านห้วยเลา หมู่ที่ 7
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น