วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

อุทยานแห่งชาติรีน่าน (ผาชู้)

แหล่งเรียนรู้  อุทยานแห่งชาติรีน่าน (ผาชู้)     
           ตั้งอยู่บ้านหนองบัว    หมู่ที่  9    ตำบลศรีษะเกษ  อำเภอนาน้อย  จังหวัดน่าน  55150       ห่างจากตัวอำเภอนาน้อย    ไปตามถนนสายนาน้อย - ปางไฮ  ประมาณ 18 กิโลเมตร

องค์ความรู้
มีลักษณะคล้ายหน้าผาสูงชัน บนยอดเขานี้ทิวทัศน์ที่สวยงาม อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติศรีน่าน นักท่องเที่ยวที่สนใจ จะมาพักผ่อนทางอุทยานแห่งชาติศรีน่านมีบ้านพักไว้บริการ สูงประมาณ  190   เมตร    สามารถมองเห็นทิวทัศน์และลำน้ำน่าน  อย่างสวยงาม   มีบ้านพักรับรองของสำนักงานพัฒนาป่าไม้ตั้งอยู่  สะอาด  สะดวก  สบาย  ปลอดภัยเป็นดินแดนที่น่าสนใจ ขุนเขาตั้งตระหง่านท่ามกลางเมฆหมอก มีพื้นป่ากว้างใหญ่ต้นกำเนินสายน้ำ           พื้นพรรณและสัตว์ป่า ถือเป็นดินแดนพรั่งพร้อมด้วยทัศนียภาพ ป่าไม้เขียวขจี ด้วยธรรมชาติงดงาม

หน้าผาชู้(ผาจู้)

        ประวัติความเป็นมา    เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2535 กรมป่าไม้ได้มีคำสั่งให้  นายสมบัติ   เวียงคำ  เจ้าหน้าที่บริหารงานป่าไม้ 6  ดำเนินการสำรวจพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าน้ำว้าและห้วยสาลี่    ป่าห้วยงวงและป่าฝั่งขวาของแม่น้ำน่านตอนใต้ เพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ จากการสำรวจปรากฏว่า พื้นที่ดังกล่าวมีศักยภาพเหมาะสมจะประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ     จำนวน  853,750  ไร่ หรือ 934 ตารางกิโลเมตร  ครอบคลุมพื้นที่การปกครอง   8  ตำบล  3  อำเภอ  คือ  ตำบลส้าน   ตำบลขึ่ง  ตำบลน้ำมวบ(อำเภอเวียงสา)  ตำบลบ่อแก้ว ตำบลนาทะนุง(อำเภอนาหมื่น)  ตำบลศรีษะเกษ  ตำบลสถาน  ตำบลเชียงของ (อำเภอนาน้อย)    จังหวัดน่านพื้นที่   สัตว์ป่าที่พบมี ช้าง วัวแดง กระทิง  ซึ่งสัตว์ทั้ง 3 ชนิด นี้อพยพข้ามไปมาระหว่างเขตติดต่อระหว่างประไทย     กับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว   นอกจากนั้นยังมี  หมี   เลียงผา   กวาง  เก้ง  หมูป่า   ที่สำคัญที่สุดอุทยานแห่งชาติศรีน่านยังค้นพบนกยูงอีกด้วย

สถานที่ติดต่อ
        อุทยานแห่งชาติศรีน่าน    ตู้ปณ. 14   อำเภอนาน้อย  จังหวัดน่าน    รหัสไปรษณีย์  55150      โทร.01-2240800 ติดต่อเข้าที่พักจองล่วงหน้า ไม่เว้นวันหยุดราชการ

แหล่งเรียนรู้ เสาดิน

 
แหล่งเรียนรู้  เสาดิน
                                ตั้งอยู่บ้านแต หมู่ที่ 2 ตำบลเชียงของ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน 55150  ห่างจากที่ว่าการอำเภอนาน้อย ไปทางทิศตะวันออก ประมาณ 8 กิโลเมตร ทางคมนาคมสะดวกรถยนต์เข้าถึงทุกฤดูกาล
ประวัติความเป็นมา  
ความเป็นมาของเสาดินเดิมเรียกกันว่า เด่นปู่เขียว มีเรื่องเล่าว่ามีชายคนหนึ่งชื่อนาย
เขียวไปเก็บหาของป่า แล้วไปนั่งอยู่ใกล้กับที่ดินพังทลาย    ก็เลยถูกดินถล่มลงมาถมตาย    ผู้คนจึงเรียกว่า
เด่นปู่เขียนติดปากเรื่อยมา  ต่อมาถูกกัดเซาะมากขึ้นเรื่อย ๆ   นานเข้าก็เกิดเป็นเสาดิน        ในประมาณปี  2512 .. อนุวัตร อินทรเสน นายอำเภอนาน้อย ได้ปรับปรุงสถานที่ดังกล่าว เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจและเปลี่ยนชื่อ ใหม่เป็น   เสาดิน 

แหล่งเรียนรู้ กศน.อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน

                         พระธาตุพลูแช่ตั้งอยู่บนสันเขาดอยหัวงัว  ในพื้นที่   หมู่  4    บ้านบุ้ง ตำบลนาน้อย อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน 55150ระยะทางห่างจาก  ที่ว่าการอำเภอนาน้อย  ประมาณ  4  กิโลเมตร             
ประวัติความเป็นมา          
                                ตำนานประวัติการสร้างพระธาตุพลูแช่ การสร้างครั้งแรก  ไม่ทราบว่าเมื่อใด  แต่ได้บันทึกไว้ในสมุดข่อยเมื่อ  ปี  .. 2262  ปีไจ้  (ชวด )  เดือน  4  ขึ้น  9  ค่ำ  ได้บันทึกตามคำบอกเล่าครูบาธรรมปัญญา ได้เล่าแก่สามเณรแสนพรหม   (ต่อมาได้เป็นเจ้าพระยาแสนพรหม)  ว่ามีพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง          ได้เสด็จมาโปรดสัตว์ถึงบริเวณ  ดอยหัวงัว โดยได้มีพระเถระเจ้าติดตามมารูปหนึ่ง    พระเถระได้ลงไปตักน้ำที่ตีนเขา (เชิงเขา)  ขากลับได้แวะขอพลูจากย่าเฒ่าที่บ้านตีนดอย เนื่องจากพลูแห้ง  ย่าเฒ่าจึงขอเอาพลูแช่น้ำก่อนแล้วจึงนำมาถวาย เมื่อพระพุทธเจ้าทราบเรื่องย่าเฒ่าแช่พลู  จึงทรงทำนายว่าที่นี่ต่อไปจักได้ชื่อว่า ดอยพลูแช่                    เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จกลับทรงเอาพระเกศา   (เส้นผม)     ให้พระเถระบรรจุลงที่ประทับนั่ง ประชาชนนำโดยพญางั่ว (เมืองหนึ่งในเขตอำเภอนาน้อยสมัยโบราณ)นำตุง  ธูปเทียน ดอกไม้มาบูชาพระพุทธเจ้าและขออนุญาตสร้างเจดีย์ตรงที่ประทับนั่งซึ่งได้บรรจุเกศานั้น  โปรดให้สร้างพระเจดีย์ตรงที่บรรจุพระเกศา    เพื่อเอาไว้สักการะบูชาและได้ขนานนามว่า   "พระธาตุพลูแช่"  (นายทวี  เหลี่ยมวาณิช     ผู้รู้ท้องถิ่นอำเภอนาน้อย    อายุ 72  ปี บ้านเลขที่  102     หมู่ที่  1 บ้านนาราบ   ตำบลนาน้อย อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน)
งานนมัสการประจำปี
                                ตรงกับวันขึ้น  15  ค่ำ  เดือน  6(เดือน 8  เหนือ)     ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชาของทุกปี  จะมีการทำบุญ   ตักบาตร  จุดบ้องไฟขึ้นในตอนกลางวัน  และจุดบ้องไฟดอกในตอนกลางคืน  ชาวบ้านมักจะเดินขึ้นไปสักการะกันซึ่งก็มีบันไดคอนกรีตทดสอบพลังศรัทธากันและปัจจุบันมีถนนลาดยางอย่างดีแล้ว
งานนมัสการพระธาตุประจำปี
                                งานเทศกาลนมัสการพระธาตุพลูแช่ จะทำกันประจำทุกปี ในวันขึ้น 15  ค่ำ  เดือน 6 (เดือน 8 เหนือ)   ตอนเช้ามีการทำบุญตักบาตร  ฟังเทศน์   สรงน้ำพระธาตุ   เวียนเทียน  ตลอดจนมีการจุดบ้องไฟในตอนบ่าย   ซึ่งเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นประจำทุกปี     นอกจากนี้บนดอยพลูแช่อันเป็นที่ตั้งของพระธาตุพลูแช่แล้วยังมีสิ่งที่น่าสนใจหลายอย่าง  เช่น  สมุนไพรในป่า  เครือเขาหลง  บ่อน้ำทิพย์  ซึ่งพบได้ยากมากคนที่ได้พบยันยืนว่ามีจริง  คูรบ  สระเก็บข้าวสาร (ปัจจุบันคือสระที่ทำน้ำตกบุญสารโสภิต)    ข่วงเจิง  ซึ่งเป็นซากสมัยสงครามพม่า(ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของศาลาเอื้อเฟื้อเลิศสกุล)มะม่วงสามรสที่มีอายุนับร้อยปีโดยที่

วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การเตรียมดิน

การเริ่มต้นที่ดีในการปลูกพืชทุกชนิด คือเตรียมดินให้ดีพร้อมเสียก่อนปลูกพืช ดินที่ดีมีภูมิต้านทานเมื่อปลูกพืชอะไรก็ตามจะทำให้พืชนั้นแข็งแรง ตั้งตัวได้เร็ว เจริญเติบโตได้ดี มีภูมิต้านทานโรคและแมลง ดูแล-ป้องกัน-รักษาโรคที่เกิดขึ้นได้อย่างง่าย
การเตรียมแปลงดินแบบคิวเซ คือ การใช้วิธีเกษตรธรรมชาติโดยใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพเข้าร่วมด้วย เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี และได้ผลผลิตจำนวนมากเพื่อที่จะป้อนสู่ผู้บริโภคอย่างเพียงพอ รวมถึงช่วยให้ผลผลิตคงทนสามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน มีประโยชน์ต่อการขนส่งไดๆ เช่น ส่งออกต่างประเทศ
การทำเกษตรธรรมชาติ จะใช้ปุ๋ยโบกาฉิ หรือ ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพที่หมักด้วยอีเอ็ม(จุลินทรีย์) ขอองคิวเซในการหมักอินทรียวัตถุต่างๆ แทนการใช้ปุ๋นเคมี และให้ฮอร์โมนที่หมักด้วยอีเอ็มแทนการใช้สาร / ยาเคมี ในการบำรุงดูแลพืช รวมทั้งรักษาโรคพืชต่างๆด้วยสุโตจู้ ซึ่งเหล่านี้ไม่มีสารเคมีมาเจือปนเลย นอกจากผลผลิตดีแล้ว ก็ยังส่งผลดีต่อสุขภาพของเกษตรกร และยังเป็นการช่วยเหลือสิ่งแวดล้อมทั้งหมดให้ดีขึ้นด้วยค่ะ
การเตรียมดินแบบคิวเซ โดยใช้โบกาฉิ นอกจากจะช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดินแล้ว จุลินทรีย์กลุ่มสร้างสรรค์ที่อยู่ในโบกาฉิก็ยังมีประโยชน์อีกมากมายเช่น
  • จุลินทรีย์เหล่านี้ทำหน้าที่เสมือนพ่อครัว คอยย่อยสลายอินทรียวัตถุทุกชนิดในดิน ซากพืช เช่น ฟาง หญ้าที่เราตัด เศษใบไม้ที่ร่วงหล่น และซากพืชอื่นๆที่เรานำมาใส่ เป็นปุ๋ยพืชสด รวมทั้ง มูลสัตว์-ซากสัตว์ เช่น แมลง ไส้เดือน สิ่งมีชีวิตต่างๆในดินที่ตาย ให้กลายเป็นอาหารพืช
  • ทำหน้าที่สังเคราะห์สารอินทรีย์ให้แก่ดิน แช่น กรดอะมิโน น้ำตาล วิตามิน ฮอร์โมน ฯลฯ เพิ่มความสมบูรณ์ให้แก่ดิน รวมทั้งบำบัดพิษในน้ำเสียที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
  • มีความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกับจุลินทรีย์ Azotobacte ด้วยในการสังเคราะห์ธาตุไนโตรเจนในดิน กลุ่มจุลินทรีย์ที่สำคัญ เช่น Rhodopseudomonas spp. รองลงมาได้แก่กลุ่ม Chlorobium spp. , Chromatium spp. , และ  Rhodospirillum spp.
  • เปลี่ยนสภาพดินจากดินเน่าเปื่อยกรือดินก่อโรค ทำให้ดินมีสภาพต้านทานโรค เข้าสู่วงจรการย่อยสลาย แบบหมัก และแบบสังเคราะห์ ลดอัตราการพังทลายของดิน ป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืชบางชนิดของพืชและสัตว์ โดยจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมัก จุลินทรีย์หลักได้แก่ พวกยีสต์ และ Actinomycetes
  • เชื้อรากลุ่มเส้นใย ช่วยทำให้ดินเกาะตัวกันเป็นก้อนเล็กๆ เกิดช่องว่างในอากาศมากมาย ก็คือทำให้ดินร่วนซุยนั่นเอง
  •  ลด/กำจัดจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุโรคพืช ทำให้สารอินทรีย์ในดินมีประโยชน์มากขึ้น
  • ย่อยสลายเมล็ดพืชให้งอกอย่างรวดเร็วกว่าปกติ

  การแหวะท้องหมู เตรียมปลูกผัก
 การเตรียมแปลงดิน-ปรับสภาพดินก่อนปลูกพืช ด้วยผลิตภัณฑ์ โตตโต้
แปลงปลูกพืชผักล้มลุกทั่วไป เช่น กวางตุ้ง ผักบุ้ง พริก มะเขือ
  • ใช้วิธีหมักแปลงก่อนปลูกพืช โดยขุดร่องตรงกลางแปลง ให้มีความลึกพอที่จะใส่อินทรียวัตถุต่างๆได้ โดยให้มีความยาวตลอดแปลง ใส่อินทรียวัตถุที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น หญ้า ฟาง ใบไม้ มูลสัตว์ เศษอาหารโรยตลอดตามแนวร่อง
  • หว่านปุ๋ยโบกาฉิชนิดผง ตารางเมตรละ 1-2 กำมือ โรยบนอินทรียวัตถุ + ใช้สารปรับปรุงบำรุงดิน 2 ช้อน กากน้ำตาล 2 ช้อน + อาหารพืชชีวภาพสูตร 4หรือ5 2 ช้อน + น้ำ 20 ลิตร ผสมให้เข้ากันรดบนวัสดุให้ชุ่ม ถ้าหากแปลงมีความยาวให้ผสมเพิ่มตามอัตราส่วนเดิม รดวัสดุตลอดแปลง กลบดินทำแปลงให้สวยงาม
  • หว่านโบกาฉิ บนแปลงตารางเมตรละ 2 กำมือ แล้วใช้ฟางคลุม ใช้สารปรับปรุงบำรุงดิน กากน้ำตาล อาหารพืชชีวภาพสูตร 4หรือ5 อัตราส่วนเดิม รดให้ทั่วแล้วหมักแปลงไว้อย่างน้อย 7 วัน จึงปลูกพืช รดน้ำให้แปลงชุ่มชื้นทุกวัน
  • ถ้าสามารถทำได้หว่านโบกาฉิ 2 ชั้นเหมือนที่กล่าวมาด้านบนพืชก็จะเจริญเติบโตดีที่สุด หรือจะหว่านโบกาฉิชั้นเดียวทับบนอินทรียวัตถุ พอทำแปลงแล้วคลุมด้วยฟางเลยโดยไม่หว่านโบกาฉิทับอีกรอบก็ได้ ให้พิจารณาตามเงินลงทุนและจำนวนผลผลิตที่ต้องการ
 ตการเตรียมหลุมเพื่อปลูกไม้ผล ใช้หลักการเดียวกันกับที่กล่าวมาแล้วเพียงเปลี่ยนจากร่องเป็นหลุมแทน
การหมักหน้าดินเพื่อปลูกไม้ผลโดยไม่ต้องขุดหลุม
  • ใช้ไม้ปักทำเครื่องหมายบริเวณที่จะปลูกพืชหว่านปุ๋ยโบกาฉิชนิดผง บริเวณรอบๆไม้ที่ปักให้กระจายทั่วๆรัศมี 1 – 2 ฟุต
  • คลุมฟาง รดด้วยสารปรับปรุงบำรุงดิน กากน้ำตาล อาหารพืชชีวภาพ สูตร 4 หรือ5 อัตราส่วนเดิม หมักไว้ 7 วัน แล้วจึงรดซ้ำอีกครั้งหนึ่ง
  • ทิ้งระยะห่างอีกประมาณ 7 วันจึงขุดหลุมเล็กๆให้พอดีกับขนาดของถุงปลูกไม้ผล
การปลูกพืชไร่ในพื้นที่บริเวณกว้าง เช่น ไร่มัน ไร่ข้าวโพด
  • หว่านปุ๋ยโบกาฉิให้ทั่วแปลง ประมาณ 100 กก./ ไร่ หากมีอินทรียวัตถุในท้องถิ่น เช่น หญ้า ฟาง ข้าวลีบ เปลือกถั่ว แกลบกาแฟ ขี้เลื่อย ซังข้าวโพด ถ้านำมาใส่ในแปลงให้ทั่วจะทำให้เพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น
  • ใช้สารปรับปรุงดิน 1 กก. อาหารพืชชีวภาพสูตร 4หรือ5 1 ลิตร ผสมน้ำ 200 ลิตร ทิ้งไว้ 1 คืน ผสมให้เข้ากันแล้วฉีดพ่น รดราด ในแปลงที่เตรียมวัสดุดังที่กล่าวมาแล้วให้ทั่ว
  • ไถหมักดินไว้อย่างน้อย 7 วัน เพื่อให้จุลินทรีย์ทำงาน จึงชักร่องปลูกพืช การฉีดพ่นดังที่กล่าวมาแล้วจะได้ปริมาณมากน้อยกี่ไร่ขึ้นอยู่กับการปรับหัวฉีดพ่น (1ชุด สำหรับ 1-2 ไร่)  สามารถทำซ้ำได้เพื่อช่วยเร่งการเจริญเติบโตให้กับพืชที่ปลูกได้อีก 1-2 ครั้ง ก่อนการเก็บผลผลิตหากต้องการฉีดพ่นในพื้นที่ที่ปลูกพืชแล้ว ให้ผสมน้ำ 500 – 1000 ลิตร
ข้อควรระวัง  ในการผสมสารปรับปรุงดินฉีดพ่น ควรเปิดหัวฉีดให้น้ำ ออกสะดวก อาจใช้สายยางฉีดโดยไม่ใส่หัวพ่นจะทำให้หัวพ่นไม่อุดตันเนื่องจากวัสดุหลายชนิด ในสารปรับปรุงดินจะต้องใช้เวลา ในการย่อยสลายในแปลงปลูกพืช กากตะกอนในสารปรับปรุงดินเป็นอาหารพืช ใช้ผสมน้ำ สาดในแปลงนาได้  ** หลังจากเตรียมแปลงและปรับสภาพดิน ควรฉีดพ่นด้วย สารไล่แมลง S.T. ก่อนเพาะปลูก จะช่วยป้องกันโรคและลดการรบกวนของศัตรูพืช ** สามารถใช้น้ำตาลทรายแดงแทนกากน้ำตาลได้

 "การหมักดิน 2 ครั้ง" จากประสบการณ์ของ อ.อัศวิน
การหมักดิน 2 ครั้ง เหมาะสำหรับดินที่แย่มากๆๆๆ มีอินทรียวัตถุน้อย เป็นกรดรุนแรง มีเชื้อโรคมาก เมื่อทำแล้วจะปรับสภาพให้ดินมีความเป็นกลาง เชื้อโรคตายไปเหลือแต่เชื้อดีที่จะทำให้พืชมีภูมิต้านทาน ดินมีชีวิตเร็วขึ้นดีกว่าการหมักครั้งเดียว ถ้าหากสามารทำได้ ยอมเสียเวลาสักหน่อย แต่ก็จะได้ผลผลิตที่ดีเป็นผลลัพธ์ที่คุ้มค่านะคะ

1.             หมักดินครั้งที่ 1 เพิ่มอินทรียวัตถุที่หาได้ในท้องถิ่นลงในแปลง แล้วหว่านโบกาฉิทับลงไป 1-2 กำมือ/ตารางเมตร , ใช้สารปรับปรุงดิน และ สารขับไล่แมลงรักษาโรคพืช S.T. ฉีดพ่นทางดิน เพื่อเพิ่มจุลินทรีย์ที่ดี ฆ่าเชื้อโรค และไข่-ตัวของแมลงศัตรูพืช ปรับปรุงดินให้ดี
2.            ไถปั่น และยกร่อง (ทำหลังเต่า) เพื่อเตรียมปลูก สำหรับพืชบางชนิด เช่น พริก ** ในแปลงต้องระบายน้ำได้ดี ถ้าหากน้ำขัง 3-4 วัน ต่อให้ใช้ระบบจุลินทรีย์ทำแบบชีวภาพ ก็มีหวังว่าต้นจะตายเหมือนกันค่ะ **
3.            คลุมหน้าดินด้วยฟางถ้าแปลงไม่ใหญ่มากนักมีแรงงานพอ หรือถ้าเอาสะดวกก็คลุมด้วยแผ่นพลาสติก (แต่คลุมด้วยฟางจะทำให้จุลินทรีย์ทำงานปรับสภาพดินได้ดีกว่า)
4.            ปลูกพืชอื่นที่สร้างรายได้ในขณะที่ "รอให้จุลินทรีย์ฆ่าเชื้อโรคและปรับสภาพดินให้พร้อมสำหรับการปลูกพริก" ซึ่งใช้เวลา1-2 เดือน หรือจะไม่ปลูกพืชอะไรก็ได้ หากใช้ฟางคลุมจะมีหญ้าขึ้นมากมาย ก็ปล่อยให้ขึ้นไป แล้วเดี๋ยวเราจะหมักลงไปเป็นปุ๋ยในดิน ในการหมักรอบที่ 2
5.            หากต้องการปลูกพืชที่สร้างรายได้ แนะนำให้เลือกปลูก กวางตุ้ง ผักบุ้ง มะเขือต่างๆ ผักกาด ถั่วฝักยาว หรือพืชผักอื่นๆที่เป็นที่ต้องการของตลาด โดย หลังจากที่ทำตามข้อ 3 ไปแล้ว 7-10 วัน ก็สามารถปลูกพืชอื่นๆได้เลย  
6.            หมักดินครั้งที่ 2 ขุดร่องตรงกลางแปลง ให้มีความลึกพอที่จะใส่อินทรียวัตถุต่างๆได้ โดยให้มีความยาวตลอดแปลง ใส่อินทรียวัตถุที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น หญ้า ฟาง ใบไม้ มูลสัตว์ เศษอาหารโรยตลอดตามแนวร่องหว่านปุ๋ยโบกาฉิสูตรพิเศษ ตารางเมตรละ 1-2 กำมือ โรยบนอินทรียวัตถุ ใช้สารปรับปรุงบำรุงดิน 2 ช้อน กากน้ำตาล 2 ช้อน อาหารพืชชีวภาพสูตร 4หรือ5 2 ช้อน น้ำ 20 ลิตร ผสมให้เข้ากันรดบนวัสดุให้ชุ่ม ถ้าหากแปลงมีความยาวให้ผสมเพิ่มตามอัตราส่วนเดิม รดวัสดุตลอดแปลง
7.            กลบดินทำแปลงให้สวยงาม ใช้โบกาฉิสูตรพิเศษ ชนิดผง หว่านบนแปลงตารางเมตรละ 2 กำมือ แล้วใช้ฟางคลุม ใช้สารปรับปรุงบำรุงดิน กากน้ำตาล อาหารพืชชีวภาพสูตร 4หรือ5 อัตราส่วนเดิม รดให้ทั่วแล้วหมักแปลงไว้อย่างน้อย 7 วัน จึงปลูกพืช รดน้ำให้แปลงชุ่มชื้นทุกวัน
 

เกษตรธรรมชาติ

ประสบการณ์ของตนไว้ในหนังสือ “One Straw Revolution” “The Road Back to Nature” และ “The Natural Way of Farming” ฟูกุโอกะ กล่าวว่ามนุษย์เข้าไปแทรกแซงธรรมชาติมากเกินไป อย่างเช่น การนำจุลินทรีย์ และแมลงมาควบคุมแมลงด้วยกันเอง การใส่ปุ๋ยหมักเกินความจำเป็น เป็นต้น 
จากปรัชญา และมุมมองนี้ ช่วยให้เราตั้งคำถามเกี่ยวกับแบบแผนและวิธีปฏิบัติของเกษตรกรรมในปัจจุบัน ว่าได้ไปไกลเกินขอบเขตธรรมชาติไปมากน้อยแค่ไหน อีกทั้งทำให้ผู้เกี่ยวข้องได้ฉุกคิดว่ามีวิธีการเกษตรกรรมที่ใกล้ชิดกับ ธรรมชาติมากกว่า แต่ไม่ได้รับการพัฒนาให้เจริญก้าวหน้า ภายใต้ยุคสมัยที่เกษตรกรรมเป็นเพียงการผลิตสินค้าที่ตอบสนองต่อระบบตลาด 
หนังสือแปลเรื่อง ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียวของฟูกุโอกะ ได้รับความสนใจจากนักพัฒนาการเกษตร และผู้สนใจทั่วไป เหตุผลหนึ่งเนื่องจากแนวทางเกษตรกรรมธรรมชาติ สอดคล้องกับหลักการและความเชื่อทางศาสนา อันเป็นเหตุผลที่ชุมชนชาวพุทธ เช่น ขบวนการสันติอโศกได้เข้ามามีบทบาทในการส่งเสริมและเผยแพร่เกษตรกรรมยั่งยืนอย่างจริงจัง (1) 

หลักการของ "เกษตรธรรมชาติ" (2)
แนวความคิดเกษตรธรรมชาติของ ฟูกุโอกะ มิได้ยืนอยู่บนพื้นฐานความคิดทางวิทยาศาสตร์ อีกทั้งปฏิเสธต่อทฤษฎีวิทยาศาสตร์การเกษตรทั้งหลายด้วย โดยเขาได้วางรากฐานของเกษตรธรรมชาติของเขาไว้ 4 ประการคือ

1. ไม่มีการไถพรวนดิน<뺼˙> </뺼˙>การไม่ไถพรวนดินเป็นบทแรกแห่งการเกษตรธรรมชาติ เนื่องจากในธรรมชาตินั้นพื้นดินมีการไถพรวนโดยตัวของมันเองอยู่แล้ว โดยการชอนไชของรากพืช สัตว์ แมลงและสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่อยู่ในดิน กระบวนการเหล่านี้ดำเนินไปอย่างสัมพันธ์กัน พืชรากลึกจะช่วยไถพรวนดินชั้นล่าง พืชรากตื้นก็จะช่วยพรวนดินบริเวณดินชั้นบน การใส่ปุ๋ยจะทำให้รากพืชอยู่ตื้นและแผ่ขยายตามแนวนอนมากกว่าจะหยั่งลึกลงไป
2. งดเว้นการใส่ปุ๋ย

เนื่องจากการใส่ปุ๋ยเป็นการเร่งการเจริญเติบโตของพืชแบบชั่วคราวในขอบเขต แคบๆ เท่านั้น ธาตุอาหารที่พืชได้รับก็ไม่สมบูรณ์ พืชที่ใส่ปุ๋ยมักจะอ่อนแอส่งผลให้เกิดโรคและแมลงได้ง่าย ดินที่ใส่ปุ๋ยเคมีติดต่อกันนานจะมีสภาพเป็นกรดและเนื้อดินเหนียวไม่ร่วนซุย การใส่ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยพืชสดมีความจำเป็นอยู่บ้างโดยเฉพาะในช่วงแรกๆ ที่ต้องมีการปรับสภาพสิ่งแวดล้อมที่เสียไปจากเกษตรเคมีให้ดีขึ้น

3. ไม่กำจัดวัชพืช

เนื่องจากงานกำจัดวัชพืชเป็นงานหนักและแม้จะคิดค้นวิธีการต่างๆ ก็ไม่สามารถทำให้วัชพืชหมดสิ้นไปได้ ดังนั้นเราจำเป็นต้องยอมรับการดำรงอยู่ของวัชพืช เช่นเดียวกับที่ธรรมชาติมิได้ประกอบด้วยพันธุ์ไม้เดียว เกษตรธรรมชาติต้องคิดค้นกฎเกณฑ์ที่วัชพืชจะควบคุมกันเอง เช่น การปลูกพืชบางชนิดคลุมหญ้าแล้วก็เป็นปุ๋ยแก่พืชปลูกด้วย

4. ไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

สารเคมีไม่เคยกำจัดศัตรูพืชได้ได้โดยเด็ดขาดเพียงแต่หยุดได้ชั่วครั้งชั่ว คราวเท่านั้น และปัญหามลพิษที่เกิดจากสารเคมีประเภทต่างๆ ส่งผลกระทบต่อทั้งระบบนิเวศและมนุษย์ ทั้งนี้ ฟูกุโอกะ ไม่เห็นด้วยแม้การใช้แมลงและจุลินทรีย์มาควบคุมแมลงเพราะเห็นว่าเป็นการไป แทรกแซงธรรมชาติมากเกินไป และส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่สัมพันธ์ของสรรพชีวิตในระบบนิเวศได้ เนื่องจากในโลกแห่งความจริงไม่มีทางออกได้ว่าอะไรคือแมลงศัตรูพืช อะไรคือแมลงที่เป็นประโยชน์

เกษตรธรรมชาติของฟูกุโอกะในทางปฏิบัติทำโดยการโปรยฟางคลุมพื้นที่นาหว่านข้าวชนิดต่างๆ ที่เหมาะสมกับฤดูกาลลงไปพร้อมกับเมล็ดพืชตระกูลถั่ว เทคนิคอีกอย่างคือการทำกระสุนดินเหนียวหุ้มเมล็ดข้าวเอาไว้เพื่อป้องกันนก หนู และศัตรูอื่นๆ ก่อนที่ข้าวจะงอก 
  เกษตรกรต้นแบบของเกษตรธรรมชาติ (3)
เกษตรกรต้นแบบของเกษตรธรรมชาติ คือ พ่อคำเดื่อง ภาษี ซึ่ง เริ่มทำเกษตรธรรมชาติในปี 2530 โดยครั้งแรกทดลองทำแค่ 1 งานเท่านั้น โดยเริ่มจากใส่แกลบลงไปก่อนแล้วไถหน้าดินให้ร่วนซุยเพราะเนื้อดินแข็งมาก จากนั้นหว่านถั่วลงไป เมื่อถั่วงอกสูงขึ้นราวๆ หนึ่งศอกก็หว่านข้าวทับลงไปโดยไม่ต้องไถอีก เมล็ดข้าวที่หว่านต้องเคลือบด้วยดินเหนียวแต่ละก้อนมีเมล็ดข้าวติดอยู่ 2-3 เมล็ด ที่ 1 งานใช้พันธุ์ข้าวราวๆ 6 กิโลกรัม หลังจากฝนตกข้าวก็จะงอกขึ้นเลยถั่ว ให้ปล่อยน้ำเข้า 2 วันจนสูงรวม 2 เซนติเมตร เพื่อชะลอการเจริญเติบโตของถั่ว จากนั้นไขน้ำออก ต้นข้าวได้รับแสงแดดก็จะขึ้นงาม ในขณะที่หญ้าจะถูกคลุมอยู่ใต้ฟาง ทั้งหญ้าทั้งถั่วจะเป็นปุ๋ยและไส้เดือนก็จะมาพรวนดิน ข้าวจะขึ้นแข็งแรงพอๆ กับที่ปักดำและใส่ปุ๋ย
การทำนาธรรมชาติของพ่อคำเดื่องได้ผลดีมากในปีที่ 2 จนเพิ่มเนื้อที่เป็น 4 ไร่ ได้ข้าว 30 กระสอบ ซึ่งไม่ต่างกับที่นาของชาวนาที่ใช้สารเคมี และเมื่อขึ้นปีที่ 3 ขยายเป็น 12 ไร่ ได้ข้าว 28 กระสอบ เนื่องจากฝนทิ้งช่วง ในขณะที่เพื่อนบ้านใกล้เคียงแทบไม่ได้เก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวเลย
นอกจากทำนาแบบธรรมชาติแล้ว พ่อคำเดื่องยังได้จัดระบบปลูกพืชผักต่างๆ ผสมกันไป โดยระยะแรกทำการขุดหลุมพรวนดิน ใช้ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก รดน้ำเหมือนการปลูกพืชผักทั่วไป แต่เมื่อพืชตระกูลถั่วที่ปลูกไว้ขึ้นคลุมพื้นที่หมด ก็ไม่ต้องใส่ปุ๋ยรดน้ำอีกเลย

ข้อความคิดเห็นจาก facebook