พระธาตุพลูแช่ตั้งอยู่บนสันเขาดอยหัวงัว ในพื้นที่ หมู่ 4 บ้านบุ้ง ตำบลนาน้อย อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน 55150ระยะทางห่างจาก ที่ว่าการอำเภอนาน้อย ประมาณ 4 กิโลเมตร
ประวัติความเป็นมา
ตำนานประวัติการสร้างพระธาตุพลูแช่ การสร้างครั้งแรก ไม่ทราบว่าเมื่อใด แต่ได้บันทึกไว้ในสมุดข่อยเมื่อ ปี พ.ศ. 2262 ปีไจ้ (ชวด ) เดือน 4 ขึ้น 9 ค่ำ ได้บันทึกตามคำบอกเล่าครูบาธรรมปัญญา ได้เล่าแก่สามเณรแสนพรหม (ต่อมาได้เป็นเจ้าพระยาแสนพรหม) ว่ามีพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ได้เสด็จมาโปรดสัตว์ถึงบริเวณ ดอยหัวงัว โดยได้มีพระเถระเจ้าติดตามมารูปหนึ่ง พระเถระได้ลงไปตักน้ำที่ตีนเขา (เชิงเขา) ขากลับได้แวะขอพลูจากย่าเฒ่าที่บ้านตีนดอย เนื่องจากพลูแห้ง ย่าเฒ่าจึงขอเอาพลูแช่น้ำก่อนแล้วจึงนำมาถวาย เมื่อพระพุทธเจ้าทราบเรื่องย่าเฒ่าแช่พลู จึงทรงทำนายว่าที่นี่ต่อไปจักได้ชื่อว่า “ดอยพลูแช่” เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จกลับทรงเอาพระเกศา (เส้นผม) ให้พระเถระบรรจุลงที่ประทับนั่ง ประชาชนนำโดยพญางั่ว (เมืองหนึ่งในเขตอำเภอนาน้อยสมัยโบราณ)นำตุง ธูปเทียน ดอกไม้มาบูชาพระพุทธเจ้าและขออนุญาตสร้างเจดีย์ตรงที่ประทับนั่งซึ่งได้บรรจุเกศานั้น โปรดให้สร้างพระเจดีย์ตรงที่บรรจุพระเกศา เพื่อเอาไว้สักการะบูชาและได้ขนานนามว่า "พระธาตุพลูแช่" (นายทวี เหลี่ยมวาณิช ผู้รู้ท้องถิ่นอำเภอนาน้อย อายุ 72 ปี บ้านเลขที่ 102 หมู่ที่ 1 บ้านนาราบ ตำบลนาน้อย อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน)
งานนมัสการประจำปี
ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6(เดือน 8 เหนือ) ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชาของทุกปี จะมีการทำบุญ ตักบาตร จุดบ้องไฟขึ้นในตอนกลางวัน และจุดบ้องไฟดอกในตอนกลางคืน ชาวบ้านมักจะเดินขึ้นไปสักการะกันซึ่งก็มีบันไดคอนกรีตทดสอบพลังศรัทธากันและปัจจุบันมีถนนลาดยางอย่างดีแล้ว
งานนมัสการพระธาตุประจำปี
งานเทศกาลนมัสการพระธาตุพลูแช่ จะทำกันประจำทุกปี ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 (เดือน 8 เหนือ) ตอนเช้ามีการทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ สรงน้ำพระธาตุ เวียนเทียน ตลอดจนมีการจุดบ้องไฟในตอนบ่าย ซึ่งเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นประจำทุกปี นอกจากนี้บนดอยพลูแช่อันเป็นที่ตั้งของพระธาตุพลูแช่แล้วยังมีสิ่งที่น่าสนใจหลายอย่าง เช่น สมุนไพรในป่า เครือเขาหลง บ่อน้ำทิพย์ ซึ่งพบได้ยากมากคนที่ได้พบยันยืนว่ามีจริง คูรบ สระเก็บข้าวสาร (ปัจจุบันคือสระที่ทำน้ำตกบุญสารโสภิต) ข่วงเจิง ซึ่งเป็นซากสมัยสงครามพม่า(ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของศาลาเอื้อเฟื้อเลิศสกุล)มะม่วงสามรสที่มีอายุนับร้อยปีโดยที่
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น