วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การเตรียมดิน

การเริ่มต้นที่ดีในการปลูกพืชทุกชนิด คือเตรียมดินให้ดีพร้อมเสียก่อนปลูกพืช ดินที่ดีมีภูมิต้านทานเมื่อปลูกพืชอะไรก็ตามจะทำให้พืชนั้นแข็งแรง ตั้งตัวได้เร็ว เจริญเติบโตได้ดี มีภูมิต้านทานโรคและแมลง ดูแล-ป้องกัน-รักษาโรคที่เกิดขึ้นได้อย่างง่าย
การเตรียมแปลงดินแบบคิวเซ คือ การใช้วิธีเกษตรธรรมชาติโดยใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพเข้าร่วมด้วย เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี และได้ผลผลิตจำนวนมากเพื่อที่จะป้อนสู่ผู้บริโภคอย่างเพียงพอ รวมถึงช่วยให้ผลผลิตคงทนสามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน มีประโยชน์ต่อการขนส่งไดๆ เช่น ส่งออกต่างประเทศ
การทำเกษตรธรรมชาติ จะใช้ปุ๋ยโบกาฉิ หรือ ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพที่หมักด้วยอีเอ็ม(จุลินทรีย์) ขอองคิวเซในการหมักอินทรียวัตถุต่างๆ แทนการใช้ปุ๋นเคมี และให้ฮอร์โมนที่หมักด้วยอีเอ็มแทนการใช้สาร / ยาเคมี ในการบำรุงดูแลพืช รวมทั้งรักษาโรคพืชต่างๆด้วยสุโตจู้ ซึ่งเหล่านี้ไม่มีสารเคมีมาเจือปนเลย นอกจากผลผลิตดีแล้ว ก็ยังส่งผลดีต่อสุขภาพของเกษตรกร และยังเป็นการช่วยเหลือสิ่งแวดล้อมทั้งหมดให้ดีขึ้นด้วยค่ะ
การเตรียมดินแบบคิวเซ โดยใช้โบกาฉิ นอกจากจะช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดินแล้ว จุลินทรีย์กลุ่มสร้างสรรค์ที่อยู่ในโบกาฉิก็ยังมีประโยชน์อีกมากมายเช่น
  • จุลินทรีย์เหล่านี้ทำหน้าที่เสมือนพ่อครัว คอยย่อยสลายอินทรียวัตถุทุกชนิดในดิน ซากพืช เช่น ฟาง หญ้าที่เราตัด เศษใบไม้ที่ร่วงหล่น และซากพืชอื่นๆที่เรานำมาใส่ เป็นปุ๋ยพืชสด รวมทั้ง มูลสัตว์-ซากสัตว์ เช่น แมลง ไส้เดือน สิ่งมีชีวิตต่างๆในดินที่ตาย ให้กลายเป็นอาหารพืช
  • ทำหน้าที่สังเคราะห์สารอินทรีย์ให้แก่ดิน แช่น กรดอะมิโน น้ำตาล วิตามิน ฮอร์โมน ฯลฯ เพิ่มความสมบูรณ์ให้แก่ดิน รวมทั้งบำบัดพิษในน้ำเสียที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
  • มีความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกับจุลินทรีย์ Azotobacte ด้วยในการสังเคราะห์ธาตุไนโตรเจนในดิน กลุ่มจุลินทรีย์ที่สำคัญ เช่น Rhodopseudomonas spp. รองลงมาได้แก่กลุ่ม Chlorobium spp. , Chromatium spp. , และ  Rhodospirillum spp.
  • เปลี่ยนสภาพดินจากดินเน่าเปื่อยกรือดินก่อโรค ทำให้ดินมีสภาพต้านทานโรค เข้าสู่วงจรการย่อยสลาย แบบหมัก และแบบสังเคราะห์ ลดอัตราการพังทลายของดิน ป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืชบางชนิดของพืชและสัตว์ โดยจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมัก จุลินทรีย์หลักได้แก่ พวกยีสต์ และ Actinomycetes
  • เชื้อรากลุ่มเส้นใย ช่วยทำให้ดินเกาะตัวกันเป็นก้อนเล็กๆ เกิดช่องว่างในอากาศมากมาย ก็คือทำให้ดินร่วนซุยนั่นเอง
  •  ลด/กำจัดจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุโรคพืช ทำให้สารอินทรีย์ในดินมีประโยชน์มากขึ้น
  • ย่อยสลายเมล็ดพืชให้งอกอย่างรวดเร็วกว่าปกติ

  การแหวะท้องหมู เตรียมปลูกผัก
 การเตรียมแปลงดิน-ปรับสภาพดินก่อนปลูกพืช ด้วยผลิตภัณฑ์ โตตโต้
แปลงปลูกพืชผักล้มลุกทั่วไป เช่น กวางตุ้ง ผักบุ้ง พริก มะเขือ
  • ใช้วิธีหมักแปลงก่อนปลูกพืช โดยขุดร่องตรงกลางแปลง ให้มีความลึกพอที่จะใส่อินทรียวัตถุต่างๆได้ โดยให้มีความยาวตลอดแปลง ใส่อินทรียวัตถุที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น หญ้า ฟาง ใบไม้ มูลสัตว์ เศษอาหารโรยตลอดตามแนวร่อง
  • หว่านปุ๋ยโบกาฉิชนิดผง ตารางเมตรละ 1-2 กำมือ โรยบนอินทรียวัตถุ + ใช้สารปรับปรุงบำรุงดิน 2 ช้อน กากน้ำตาล 2 ช้อน + อาหารพืชชีวภาพสูตร 4หรือ5 2 ช้อน + น้ำ 20 ลิตร ผสมให้เข้ากันรดบนวัสดุให้ชุ่ม ถ้าหากแปลงมีความยาวให้ผสมเพิ่มตามอัตราส่วนเดิม รดวัสดุตลอดแปลง กลบดินทำแปลงให้สวยงาม
  • หว่านโบกาฉิ บนแปลงตารางเมตรละ 2 กำมือ แล้วใช้ฟางคลุม ใช้สารปรับปรุงบำรุงดิน กากน้ำตาล อาหารพืชชีวภาพสูตร 4หรือ5 อัตราส่วนเดิม รดให้ทั่วแล้วหมักแปลงไว้อย่างน้อย 7 วัน จึงปลูกพืช รดน้ำให้แปลงชุ่มชื้นทุกวัน
  • ถ้าสามารถทำได้หว่านโบกาฉิ 2 ชั้นเหมือนที่กล่าวมาด้านบนพืชก็จะเจริญเติบโตดีที่สุด หรือจะหว่านโบกาฉิชั้นเดียวทับบนอินทรียวัตถุ พอทำแปลงแล้วคลุมด้วยฟางเลยโดยไม่หว่านโบกาฉิทับอีกรอบก็ได้ ให้พิจารณาตามเงินลงทุนและจำนวนผลผลิตที่ต้องการ
 ตการเตรียมหลุมเพื่อปลูกไม้ผล ใช้หลักการเดียวกันกับที่กล่าวมาแล้วเพียงเปลี่ยนจากร่องเป็นหลุมแทน
การหมักหน้าดินเพื่อปลูกไม้ผลโดยไม่ต้องขุดหลุม
  • ใช้ไม้ปักทำเครื่องหมายบริเวณที่จะปลูกพืชหว่านปุ๋ยโบกาฉิชนิดผง บริเวณรอบๆไม้ที่ปักให้กระจายทั่วๆรัศมี 1 – 2 ฟุต
  • คลุมฟาง รดด้วยสารปรับปรุงบำรุงดิน กากน้ำตาล อาหารพืชชีวภาพ สูตร 4 หรือ5 อัตราส่วนเดิม หมักไว้ 7 วัน แล้วจึงรดซ้ำอีกครั้งหนึ่ง
  • ทิ้งระยะห่างอีกประมาณ 7 วันจึงขุดหลุมเล็กๆให้พอดีกับขนาดของถุงปลูกไม้ผล
การปลูกพืชไร่ในพื้นที่บริเวณกว้าง เช่น ไร่มัน ไร่ข้าวโพด
  • หว่านปุ๋ยโบกาฉิให้ทั่วแปลง ประมาณ 100 กก./ ไร่ หากมีอินทรียวัตถุในท้องถิ่น เช่น หญ้า ฟาง ข้าวลีบ เปลือกถั่ว แกลบกาแฟ ขี้เลื่อย ซังข้าวโพด ถ้านำมาใส่ในแปลงให้ทั่วจะทำให้เพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น
  • ใช้สารปรับปรุงดิน 1 กก. อาหารพืชชีวภาพสูตร 4หรือ5 1 ลิตร ผสมน้ำ 200 ลิตร ทิ้งไว้ 1 คืน ผสมให้เข้ากันแล้วฉีดพ่น รดราด ในแปลงที่เตรียมวัสดุดังที่กล่าวมาแล้วให้ทั่ว
  • ไถหมักดินไว้อย่างน้อย 7 วัน เพื่อให้จุลินทรีย์ทำงาน จึงชักร่องปลูกพืช การฉีดพ่นดังที่กล่าวมาแล้วจะได้ปริมาณมากน้อยกี่ไร่ขึ้นอยู่กับการปรับหัวฉีดพ่น (1ชุด สำหรับ 1-2 ไร่)  สามารถทำซ้ำได้เพื่อช่วยเร่งการเจริญเติบโตให้กับพืชที่ปลูกได้อีก 1-2 ครั้ง ก่อนการเก็บผลผลิตหากต้องการฉีดพ่นในพื้นที่ที่ปลูกพืชแล้ว ให้ผสมน้ำ 500 – 1000 ลิตร
ข้อควรระวัง  ในการผสมสารปรับปรุงดินฉีดพ่น ควรเปิดหัวฉีดให้น้ำ ออกสะดวก อาจใช้สายยางฉีดโดยไม่ใส่หัวพ่นจะทำให้หัวพ่นไม่อุดตันเนื่องจากวัสดุหลายชนิด ในสารปรับปรุงดินจะต้องใช้เวลา ในการย่อยสลายในแปลงปลูกพืช กากตะกอนในสารปรับปรุงดินเป็นอาหารพืช ใช้ผสมน้ำ สาดในแปลงนาได้  ** หลังจากเตรียมแปลงและปรับสภาพดิน ควรฉีดพ่นด้วย สารไล่แมลง S.T. ก่อนเพาะปลูก จะช่วยป้องกันโรคและลดการรบกวนของศัตรูพืช ** สามารถใช้น้ำตาลทรายแดงแทนกากน้ำตาลได้

 "การหมักดิน 2 ครั้ง" จากประสบการณ์ของ อ.อัศวิน
การหมักดิน 2 ครั้ง เหมาะสำหรับดินที่แย่มากๆๆๆ มีอินทรียวัตถุน้อย เป็นกรดรุนแรง มีเชื้อโรคมาก เมื่อทำแล้วจะปรับสภาพให้ดินมีความเป็นกลาง เชื้อโรคตายไปเหลือแต่เชื้อดีที่จะทำให้พืชมีภูมิต้านทาน ดินมีชีวิตเร็วขึ้นดีกว่าการหมักครั้งเดียว ถ้าหากสามารทำได้ ยอมเสียเวลาสักหน่อย แต่ก็จะได้ผลผลิตที่ดีเป็นผลลัพธ์ที่คุ้มค่านะคะ

1.             หมักดินครั้งที่ 1 เพิ่มอินทรียวัตถุที่หาได้ในท้องถิ่นลงในแปลง แล้วหว่านโบกาฉิทับลงไป 1-2 กำมือ/ตารางเมตร , ใช้สารปรับปรุงดิน และ สารขับไล่แมลงรักษาโรคพืช S.T. ฉีดพ่นทางดิน เพื่อเพิ่มจุลินทรีย์ที่ดี ฆ่าเชื้อโรค และไข่-ตัวของแมลงศัตรูพืช ปรับปรุงดินให้ดี
2.            ไถปั่น และยกร่อง (ทำหลังเต่า) เพื่อเตรียมปลูก สำหรับพืชบางชนิด เช่น พริก ** ในแปลงต้องระบายน้ำได้ดี ถ้าหากน้ำขัง 3-4 วัน ต่อให้ใช้ระบบจุลินทรีย์ทำแบบชีวภาพ ก็มีหวังว่าต้นจะตายเหมือนกันค่ะ **
3.            คลุมหน้าดินด้วยฟางถ้าแปลงไม่ใหญ่มากนักมีแรงงานพอ หรือถ้าเอาสะดวกก็คลุมด้วยแผ่นพลาสติก (แต่คลุมด้วยฟางจะทำให้จุลินทรีย์ทำงานปรับสภาพดินได้ดีกว่า)
4.            ปลูกพืชอื่นที่สร้างรายได้ในขณะที่ "รอให้จุลินทรีย์ฆ่าเชื้อโรคและปรับสภาพดินให้พร้อมสำหรับการปลูกพริก" ซึ่งใช้เวลา1-2 เดือน หรือจะไม่ปลูกพืชอะไรก็ได้ หากใช้ฟางคลุมจะมีหญ้าขึ้นมากมาย ก็ปล่อยให้ขึ้นไป แล้วเดี๋ยวเราจะหมักลงไปเป็นปุ๋ยในดิน ในการหมักรอบที่ 2
5.            หากต้องการปลูกพืชที่สร้างรายได้ แนะนำให้เลือกปลูก กวางตุ้ง ผักบุ้ง มะเขือต่างๆ ผักกาด ถั่วฝักยาว หรือพืชผักอื่นๆที่เป็นที่ต้องการของตลาด โดย หลังจากที่ทำตามข้อ 3 ไปแล้ว 7-10 วัน ก็สามารถปลูกพืชอื่นๆได้เลย  
6.            หมักดินครั้งที่ 2 ขุดร่องตรงกลางแปลง ให้มีความลึกพอที่จะใส่อินทรียวัตถุต่างๆได้ โดยให้มีความยาวตลอดแปลง ใส่อินทรียวัตถุที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น หญ้า ฟาง ใบไม้ มูลสัตว์ เศษอาหารโรยตลอดตามแนวร่องหว่านปุ๋ยโบกาฉิสูตรพิเศษ ตารางเมตรละ 1-2 กำมือ โรยบนอินทรียวัตถุ ใช้สารปรับปรุงบำรุงดิน 2 ช้อน กากน้ำตาล 2 ช้อน อาหารพืชชีวภาพสูตร 4หรือ5 2 ช้อน น้ำ 20 ลิตร ผสมให้เข้ากันรดบนวัสดุให้ชุ่ม ถ้าหากแปลงมีความยาวให้ผสมเพิ่มตามอัตราส่วนเดิม รดวัสดุตลอดแปลง
7.            กลบดินทำแปลงให้สวยงาม ใช้โบกาฉิสูตรพิเศษ ชนิดผง หว่านบนแปลงตารางเมตรละ 2 กำมือ แล้วใช้ฟางคลุม ใช้สารปรับปรุงบำรุงดิน กากน้ำตาล อาหารพืชชีวภาพสูตร 4หรือ5 อัตราส่วนเดิม รดให้ทั่วแล้วหมักแปลงไว้อย่างน้อย 7 วัน จึงปลูกพืช รดน้ำให้แปลงชุ่มชื้นทุกวัน
 

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ข้อความคิดเห็นจาก facebook