วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เกษตรธรรมชาติ

ประสบการณ์ของตนไว้ในหนังสือ “One Straw Revolution” “The Road Back to Nature” และ “The Natural Way of Farming” ฟูกุโอกะ กล่าวว่ามนุษย์เข้าไปแทรกแซงธรรมชาติมากเกินไป อย่างเช่น การนำจุลินทรีย์ และแมลงมาควบคุมแมลงด้วยกันเอง การใส่ปุ๋ยหมักเกินความจำเป็น เป็นต้น 
จากปรัชญา และมุมมองนี้ ช่วยให้เราตั้งคำถามเกี่ยวกับแบบแผนและวิธีปฏิบัติของเกษตรกรรมในปัจจุบัน ว่าได้ไปไกลเกินขอบเขตธรรมชาติไปมากน้อยแค่ไหน อีกทั้งทำให้ผู้เกี่ยวข้องได้ฉุกคิดว่ามีวิธีการเกษตรกรรมที่ใกล้ชิดกับ ธรรมชาติมากกว่า แต่ไม่ได้รับการพัฒนาให้เจริญก้าวหน้า ภายใต้ยุคสมัยที่เกษตรกรรมเป็นเพียงการผลิตสินค้าที่ตอบสนองต่อระบบตลาด 
หนังสือแปลเรื่อง ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียวของฟูกุโอกะ ได้รับความสนใจจากนักพัฒนาการเกษตร และผู้สนใจทั่วไป เหตุผลหนึ่งเนื่องจากแนวทางเกษตรกรรมธรรมชาติ สอดคล้องกับหลักการและความเชื่อทางศาสนา อันเป็นเหตุผลที่ชุมชนชาวพุทธ เช่น ขบวนการสันติอโศกได้เข้ามามีบทบาทในการส่งเสริมและเผยแพร่เกษตรกรรมยั่งยืนอย่างจริงจัง (1) 

หลักการของ "เกษตรธรรมชาติ" (2)
แนวความคิดเกษตรธรรมชาติของ ฟูกุโอกะ มิได้ยืนอยู่บนพื้นฐานความคิดทางวิทยาศาสตร์ อีกทั้งปฏิเสธต่อทฤษฎีวิทยาศาสตร์การเกษตรทั้งหลายด้วย โดยเขาได้วางรากฐานของเกษตรธรรมชาติของเขาไว้ 4 ประการคือ

1. ไม่มีการไถพรวนดิน<뺼˙> </뺼˙>การไม่ไถพรวนดินเป็นบทแรกแห่งการเกษตรธรรมชาติ เนื่องจากในธรรมชาตินั้นพื้นดินมีการไถพรวนโดยตัวของมันเองอยู่แล้ว โดยการชอนไชของรากพืช สัตว์ แมลงและสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่อยู่ในดิน กระบวนการเหล่านี้ดำเนินไปอย่างสัมพันธ์กัน พืชรากลึกจะช่วยไถพรวนดินชั้นล่าง พืชรากตื้นก็จะช่วยพรวนดินบริเวณดินชั้นบน การใส่ปุ๋ยจะทำให้รากพืชอยู่ตื้นและแผ่ขยายตามแนวนอนมากกว่าจะหยั่งลึกลงไป
2. งดเว้นการใส่ปุ๋ย

เนื่องจากการใส่ปุ๋ยเป็นการเร่งการเจริญเติบโตของพืชแบบชั่วคราวในขอบเขต แคบๆ เท่านั้น ธาตุอาหารที่พืชได้รับก็ไม่สมบูรณ์ พืชที่ใส่ปุ๋ยมักจะอ่อนแอส่งผลให้เกิดโรคและแมลงได้ง่าย ดินที่ใส่ปุ๋ยเคมีติดต่อกันนานจะมีสภาพเป็นกรดและเนื้อดินเหนียวไม่ร่วนซุย การใส่ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยพืชสดมีความจำเป็นอยู่บ้างโดยเฉพาะในช่วงแรกๆ ที่ต้องมีการปรับสภาพสิ่งแวดล้อมที่เสียไปจากเกษตรเคมีให้ดีขึ้น

3. ไม่กำจัดวัชพืช

เนื่องจากงานกำจัดวัชพืชเป็นงานหนักและแม้จะคิดค้นวิธีการต่างๆ ก็ไม่สามารถทำให้วัชพืชหมดสิ้นไปได้ ดังนั้นเราจำเป็นต้องยอมรับการดำรงอยู่ของวัชพืช เช่นเดียวกับที่ธรรมชาติมิได้ประกอบด้วยพันธุ์ไม้เดียว เกษตรธรรมชาติต้องคิดค้นกฎเกณฑ์ที่วัชพืชจะควบคุมกันเอง เช่น การปลูกพืชบางชนิดคลุมหญ้าแล้วก็เป็นปุ๋ยแก่พืชปลูกด้วย

4. ไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

สารเคมีไม่เคยกำจัดศัตรูพืชได้ได้โดยเด็ดขาดเพียงแต่หยุดได้ชั่วครั้งชั่ว คราวเท่านั้น และปัญหามลพิษที่เกิดจากสารเคมีประเภทต่างๆ ส่งผลกระทบต่อทั้งระบบนิเวศและมนุษย์ ทั้งนี้ ฟูกุโอกะ ไม่เห็นด้วยแม้การใช้แมลงและจุลินทรีย์มาควบคุมแมลงเพราะเห็นว่าเป็นการไป แทรกแซงธรรมชาติมากเกินไป และส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่สัมพันธ์ของสรรพชีวิตในระบบนิเวศได้ เนื่องจากในโลกแห่งความจริงไม่มีทางออกได้ว่าอะไรคือแมลงศัตรูพืช อะไรคือแมลงที่เป็นประโยชน์

เกษตรธรรมชาติของฟูกุโอกะในทางปฏิบัติทำโดยการโปรยฟางคลุมพื้นที่นาหว่านข้าวชนิดต่างๆ ที่เหมาะสมกับฤดูกาลลงไปพร้อมกับเมล็ดพืชตระกูลถั่ว เทคนิคอีกอย่างคือการทำกระสุนดินเหนียวหุ้มเมล็ดข้าวเอาไว้เพื่อป้องกันนก หนู และศัตรูอื่นๆ ก่อนที่ข้าวจะงอก 
  เกษตรกรต้นแบบของเกษตรธรรมชาติ (3)
เกษตรกรต้นแบบของเกษตรธรรมชาติ คือ พ่อคำเดื่อง ภาษี ซึ่ง เริ่มทำเกษตรธรรมชาติในปี 2530 โดยครั้งแรกทดลองทำแค่ 1 งานเท่านั้น โดยเริ่มจากใส่แกลบลงไปก่อนแล้วไถหน้าดินให้ร่วนซุยเพราะเนื้อดินแข็งมาก จากนั้นหว่านถั่วลงไป เมื่อถั่วงอกสูงขึ้นราวๆ หนึ่งศอกก็หว่านข้าวทับลงไปโดยไม่ต้องไถอีก เมล็ดข้าวที่หว่านต้องเคลือบด้วยดินเหนียวแต่ละก้อนมีเมล็ดข้าวติดอยู่ 2-3 เมล็ด ที่ 1 งานใช้พันธุ์ข้าวราวๆ 6 กิโลกรัม หลังจากฝนตกข้าวก็จะงอกขึ้นเลยถั่ว ให้ปล่อยน้ำเข้า 2 วันจนสูงรวม 2 เซนติเมตร เพื่อชะลอการเจริญเติบโตของถั่ว จากนั้นไขน้ำออก ต้นข้าวได้รับแสงแดดก็จะขึ้นงาม ในขณะที่หญ้าจะถูกคลุมอยู่ใต้ฟาง ทั้งหญ้าทั้งถั่วจะเป็นปุ๋ยและไส้เดือนก็จะมาพรวนดิน ข้าวจะขึ้นแข็งแรงพอๆ กับที่ปักดำและใส่ปุ๋ย
การทำนาธรรมชาติของพ่อคำเดื่องได้ผลดีมากในปีที่ 2 จนเพิ่มเนื้อที่เป็น 4 ไร่ ได้ข้าว 30 กระสอบ ซึ่งไม่ต่างกับที่นาของชาวนาที่ใช้สารเคมี และเมื่อขึ้นปีที่ 3 ขยายเป็น 12 ไร่ ได้ข้าว 28 กระสอบ เนื่องจากฝนทิ้งช่วง ในขณะที่เพื่อนบ้านใกล้เคียงแทบไม่ได้เก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวเลย
นอกจากทำนาแบบธรรมชาติแล้ว พ่อคำเดื่องยังได้จัดระบบปลูกพืชผักต่างๆ ผสมกันไป โดยระยะแรกทำการขุดหลุมพรวนดิน ใช้ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก รดน้ำเหมือนการปลูกพืชผักทั่วไป แต่เมื่อพืชตระกูลถั่วที่ปลูกไว้ขึ้นคลุมพื้นที่หมด ก็ไม่ต้องใส่ปุ๋ยรดน้ำอีกเลย

1 ความคิดเห็น:

ข้อความคิดเห็นจาก facebook